สิว
สิวขึ้นคอ

สิวที่คอ สาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง สามารถรักษาสิวที่คอให้หายได้อย่างไร

สิวส่วนใหญ่มักจะขึ้นบนใบหน้า แต่สิวก็สามารถขึ้นตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายได้ด้วยเช่นกัน คอเป็นบริเวณหนึ่งที่มักมีสิวประเภทต่าง ๆ ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสิวหัวหนอง สิวไม่มีหัว และสิวประเภทอื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้คุณไม่สบายใจเวลามองหรือสัมผัส แม้ว่าสิวที่คอจะยุบลงแล้วแต่ก็มีโอกาสทิ้งรอยสิวที่คอด้วย แต่สิวที่คอสามารถรักษาและป้องกันได้ถ้าทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิวคออย่างถูกต้อง



ทำไมถึงมีสิวที่คอ?

พอเห็นสิวที่คอแล้วคุณก็อาจจะสงสัยว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สิวขึ้นที่คอ ซึ่งสิวบริเวณนั้นเกิดจากต่อมไขมันบริเวณลำคอผลิตน้ำมันออกมามากจนทำให้สิ่งสกปรกต่าง ๆ เช่น เซลล์ผิวที่ตายแล้ว หรือแบคทีเรียเข้าอุดตันข้างในรูขุมขนจนกลายเป็นสิวในที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถเกิดอาการอักเสบได้ หากมีสิ่งกระตุ้น เช่น การเจริญของเชื้อแบคทีเรีย หรือการระคายเคือง เป็นต้น

จากที่ทราบกันแล้วว่าสิวขึ้นคอนั้นเกิดจากการอุดตันของรูขุมขนบริเวณลำคอ แต่สาเหตุนั้นก็จะมีปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้กลายเป็นสิวที่คอ โดยปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นการเกิดสิวที่คอมีดังนี้ค่ะ

ฮอร์โมนของร่างกาย

ในช่วงที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่น ช่วงที่กำลังมีประจำเดือนหรืออยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนในร่างกายจะแปรปรวนง่ายกว่าปกติ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนก็เป็นต้นเหตุที่ทำให้มีสิวฮอร์โมนขึ้นที่คอ

ความเครียด

เมื่อรู้สึกเครียดหรือรู้สึกกังวล ไม่สบายใจ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลขึ้น และเมื่อรวมกับฮอร์โมนแอนโดรเจนหรือฮอร์โมนเพศชายที่มีในร่างกายอยู่แล้ว ก็จะไปกระตุ้นทำให้เกิดสิวที่คอ

สิ่งสกปรกติดสะสมตามผิวกาย

แม้ว่าจะทำความสะอาดร่างกายเป็นประจำ แต่เชื่อว่าบางครั้งก็อาจเผลอข้ามทำความสะอาดบริเวณคอ หรือว่าอาจจะรีบถูเพราะมองว่าเป็นส่วนที่ไม่ได้สกปรกมาก แต่ที่จริงแล้วคอเป็นหนึ่งในบริเวณที่มีเหงื่อและสิ่งสกปรกสะสมเยอะ ดังนั้นถ้าไม่ทำความสะอาดให้เรียบร้อยก็จะทำให้สิ่งสกปรกสะสมจนทำให้สิวขึ้นตรงคอได้

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดร่างกาย

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดผิวกาย เช่น สบู่ ยาสระผม โฟมล้างหน้า บางยี่ห้อมีส่วนผสมของสารที่ก่ออาการระคายเคืองหรืออาจมีค่า pH ที่ไม่เหมาะกับสภาพผิว ก็จะทำให้ผิวระคายเคืองได้ด้วยเช่นกัน และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบางยี่ห้อก็มีส่วนผสมที่ทำให้ผิวอุดตันง่าย ซึ่งจะไปกระตุ้นทำให้สิวขึ้นหลังคอหรือหน้าคอได้ค่ะ

เสื้อผ้า เครื่องประดับ และอื่น ๆ เสียดสีผิว

หากใส่เสื้อผ้าที่ขนาดพอดีตัวมากเกินไป หรือเนื้อผ้าที่สวมใส่แข็งกระด้างก็จะไปเสียดสีผิวให้คอเป็นสิวได้ หรือถ้าใส่เสื้อเนื้อผ้าหนา ระบายอากาศไม่ดี เวลาเหงื่อออกก็จะเกิดความอับชื้นและอุดตันกลายเป็นสิวที่คอหรือสิวที่หลังง่ายขึ้น

ในกรณีที่สวมใส่เครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ ผ้าพันคอ ก็จะไปเสียดสีผิวคอให้เกิดสิวที่คอ หรือถ้าใส่หน้ากากอนามัย ก็จะทำให้ผิวบริเวณใต้แมสก์อับชื้น และตัวแมสก์ยังไปเสียดสีผิวคอทำให้เกิดสิวที่คาง หรือ สิวแพ้แมสก์ได้อีกด้วย

พฤติกรรมการรับประทานอาหาร

พฤติกรรมการรับประทานอาหารก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่กระตุ้นให้สิวขึ้นคอได้ โดยถ้าทานอาหารที่มีไขมันเยอะ ทานอาหารที่มีคอเรสเตอรอลสูง หรือทานอาหารที่มีน้ำตาลเป็นประจำ จะทำให้ต่อมไขมันผลิตไขมันออกมาอุดตันรูขุมขนมากขึ้นและกลายเป็นตุ่มสิวที่คอในที่สุด


สิวที่คอมีกี่ประเภท? 

สิวที่คอมีหลายประเภทด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสิวอุดตัน สิวอักเสบ และสิวประเภทอื่น ๆ ซึ่งสิวที่คอแต่ละประเภทจะมีลักษณะและอาการแตกต่างกัน ดังนี้

สิวอุดตัน

สิวอุดตัน (Comedones) คือ สิวไม่อักเสบ มีสาเหตุเกิดจากการอุดตันของเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ทำให้ผิวหนังมีลักษณะเป็นตุ่มนูน ดูขรุขระ ไม่เรียบเนียน โดยสิวที่คอที่มีการอุดตันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ สิวอุดตันหัวปิดและสิวอุดตันหัวเปิด

สิวอุดตันหัวปิด (Close Comedones) หรือสิวหัวขาว (Whiteheads) คือ สิวอุดตันที่อยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะเป็นตุ่มนูนขนาดเล็ก มีสีขาว สีครีม หรืออาจมีสีกลืนไปกับผิวหนัง สิวประเภทนี้รักษายากกว่าสิวอุดตันหัวเปิด ถ้าปล่อยไว้โดยที่ไม่ดูแลรักษาให้ดี สิวที่คอก็อาจจะมีโอกาสติดเชื้อ ทำให้เม็ดสิวขนาดใหญ่ขึ้นและกลายเป็นสิวอักเสบแทน

สิวอุดตันหัวเปิด (Open Comedones) หรือสิวหัวดำ (Blackheads) คือ สิวอุดตันมีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีดำแข็งขนาดเล็ก โดยหัวสิวสีดำนั้นเกิดจากสิ่งอุดตัน เช่น ไขมัน เซลล์ผิวที่ตายแล้วสัมผัสกับออกซิเจนนอกผิวจนเกิดการ oxidation ขึ้น

สิวอักเสบ

สิวอักเสบ (Inflammatory Acne/Papulopustular Acne) คือ สิวที่มีลักษณะเป็นตุ่มบวมแดง มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เมื่อกดแล้วจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อย สิวอักเสบเกิดจากสิวหัวขาวที่ถูกสิ่งต่าง ๆ กระตุ้นจนเกิดอาการอักเสบที่ชั้นผิวหนัง เช่น เชื้อแบคทีเรีย พฤติกรรมการใช้ชีวิต ฮอร์โมน เป็นต้น

สิวหัวหนอง

สิวหัวหนอง (Pustule) คือ สิวอักเสบประเภทหนึ่ง มีลักษณะเป็นตุ่มแดงที่มีหนองจุดสีเหลืองขาวอยู่กึ่งกลาง โดยสิวที่คอมีหัวหนองจะมีทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ เมื่อกดแล้วจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อย หรืออาจจะมีอาการคันร่วมด้วย เกิดจากรูขุมขนที่อุดตันนั้นถูกกระตุ้นจากการแกะเกา

สิวผด

สิวผด (Acne Aestivalis/Acne Mallorca) คือ ผดที่มีลักษณะเป็นตุ่มเม็ดเล็ก ๆ สีกลืนกับผิวหรือสีแดงอ่อนขึ้นราวกับสิวเห่อตามบริเวณต่าง ๆ ซึ่งตุ่มที่ขึ้นนั้นไม่ใช่สิวเพราะสิวผดไม่ได้เกิดจากรูขุมขนอุดตัน แต่เกิดจากแสงแดดและเชื้อราที่ไปกระตุ้นต่อมไขมันให้ตุ่มผดขนาดเล็กขึ้นมาค่ะ

สิวหัวช้าง

สิวหัวช้าง (Nodulocystic acne) คือ สิวอักเสบรุนแรงชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นตุ่มบวมแดงขนาดใหญ่ มีหนองอยู่ภายใน เมื่อกดแล้วจะรู้สึกเจ็บมาก โดยมีสาเหตุเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ฮอร์โมน ไขมัน และอื่น ๆ รวมถึงเชื้อแบคทีเรีย P. acne (C. acne) ไปกระตุ้นให้เกิดการอุดตันจนเกิดกลายเป็นสิวที่คอ


สิวที่คอสามารถรักษาได้อย่างไร

รักษาสิวที่คอ

ปัจจุบันมีวิธีรักษาสิวที่คอหลายวิธีไว้เป็นทางเลือก ซึ่งวิธีที่นิยมใช้รักษาสิวมีดังนี้

รับประทานยารักษาสิว

การทานยารักษาสิวเป็นหนึ่งในวิธีที่ใช้รักษาสิวที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง โดยยาทานที่นำมาใช้รักษาสิวจะมียากลุ่มปฏิชีวนะ ยากลุ่มกรดวิตามินเอ ยาปรับฮอร์โมน เพื่อช่วยให้บรรเทาอาการของสิวที่คอลง แต่การใช้ยาทานควรให้แพทย์เป็นผู้ดูแลเท่านั้นเพื่อความปลอดภัยของร่างกายค่ะ

ใช้ยาละลายหัวสิวที่คอ

การใช้ยาทาละลายหัวสิวที่คอ เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในการรักษาสิวที่คอ เพราะสิวคอส่วนมากไม่ได้มีอาการรุนแรง โดยยาทาสิวที่คอมีคุณสมบัติช่วยลดอาการอักเสบของสิว ขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไปทำให้รูขุมขนอุดตันน้อยลง และยังมีส่วนช่วยในการกระตุ้นสร้างเซลล์ใหม่ทำให้ผิวเรียบเนียนมากขึ้น

ยาทาสิวที่คอที่ใช้จะแบ่งตามอาการของสิวที่คอ เช่น Azelaic acid, Adapalene ใช้รักษาสิวเรื้อรังที่มีอาการไม่รุนแรงจนถึงปานกลาง หรือ Retinoid, Benzoyl Peroxide จะเป็นยารักษาสิวที่คอที่อาการรุนแรงปานกลางจนถึงมีอาการอักเสบรุนแรง

ฉีดยารักษาสิวที่คอ

วิธีรักษาสิวที่คอด้วยการฉีดยา เป็นวิธีที่มักใช้ในกรณีสิวที่คออักเสบรุนแรง เพื่อให้อาการของสิวอักเสบ ทั้งอาการบวมแดง เจ็บ มีหนองบรรเทาลง โดยใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid) ที่มีคุณสมบัติลดอาการอักเสบ อย่างไรก็ตามการใช้สเตียรอยด์ก็มีผลข้างเคียง เช่น ทำให้ผิวบาง บริเวณที่ฉีดสิวบุ๋มลง หรืออาจเกิดอาการติดสารสเตียรอยด์ได้ ดังนั้นจึงควรให้แพทย์ที่มีประสบการณ์เป็นผู้ฉีดรักษาสิวให้เท่านั้น

ใช้แสงเลเซอร์ช่วยลดสิว

การเลเซอร์สิวที่คอ เป็นวิธีแก้สิวที่คอได้โดยนำเครื่องเลเซอร์ประเภทต่าง ๆ เช่น Pico Laser, CO2 laser และอื่น ๆ มาใช้ขจัดสิ่งอุดตันในรูขุมขน กำจัดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของการเกิดสิว พร้อมแก้ปัญหารอยแดงและรอยดำจากสิวได้อย่างตรงจุด 

ทาสกินแคร์ช่วยลดสิวที่คอ

การใช้สกินแคร์ก็เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยรักษาสิวที่คอได้ โดยเลือกจากสกินแคร์ที่มีส่วนผสมต่าง ๆ เช่น AHA, BHA, LHA และ PHA ที่มีฤทธิ์เป็นกรด โดยแต่ละประเภทจะมีจุดเด่นที่ช่วยลดสิวที่คอได้ดังนี้

  • AHA (Alpha Hydroxy Acid) ช่วยกำจัดสิ่งที่อุดตันในรูขุมขน ทำให้ผิวกระจ่างใสขึ้น เหมาะกับผู้ที่มีผิวแห้ง
  • BHA (Beta Hydroxy Acid) ช่วยกำจัดไขมันที่ซึมเข้ารูขุมขน เหมาะกับผู้ที่มีผิวมัน
  • LHA (Lipohydroxy Acid) ช่วยผลัดเซลล์ผิว ลดการเกิดสิว เหมาะกับผู้ที่มีผิวมัน
  • PHA (Polyhydroxy Acid) ช่วยกำจัดสิ่งสกปรกในรูขุมขนและลดอัตราการเกิดสิว เหมาะกับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย

ดูแลและป้องกันอย่างไรไม่ให้มีสิวที่คอ

เพื่อให้ผลลัพธ์จากการรักษาสิวที่คอเป็นไปตามที่ต้องการ ไม่ให้มีสิวขึ้นที่คอ สิวขึ้นหน้าผาก สิวขึ้นแก้ม หรือขึ้นตามบริเวณอื่น ๆ ซ้ำ สามารถปฏิบัติตามข้อแนะนำต่อไปนี้ได้ค่ะ

  • ลด ละ การกินอาหารมัน เช่น ของทอด เนื้อสัตว์ติดมันเยอะ รวมถึงลดการทานของหวาน น้ำอัดลม เป็นต้น
  • ทำความสะอาดบริเวณลำคอให้สะอาดเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดสิวที่คอ
  • เลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวกายและยาสระผมสูตรอ่อนโยน เพื่อลดอาการระคายเคือง
  • ไม่ใส่เสื้อผ้าขนาดพอดีตัวมากเกินไป และใส่เสื้อผ้าเนื้อบาง โปร่ง เพื่อให้ระบายอากาศได้ดีขึ้น
  • หมั่นทาครีมกันแดดอยู่เสมอ 
  • หลีกเลี่ยงการใช้ครีมบำรุงหรือสกินแคร์ที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ เพื่อป้องกันการเกิดสิวสเตียรอยด์
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

    สรุปต้องทำอย่างไรบ้างสิวที่คอถึงจะหาย

    แม้ว่าสิวที่คอจะสามารถรักษาให้หายและไม่กลับมาขึ้นซ้ำได้แต่ก็ยังคงเหลือรอยสิวที่ต้องใช้เวลารักษา ในกรณีนี้สามารถใช้บริการคลินิกรมย์รวินท์ที่มีแพทย์เฉพาะทางด้านโรคผิวหนังเป็นผู้ให้บริการรักษาสิว และกำจัดร่องรอยที่เหลือจากการรักษาสิวที่คอ เช่น เลเซอร์รอยสิว เพื่อให้ผิวคอของคุณกลับมาดูสวยเรียบเนียนอีกครั้ง


    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือปรึกษาปัญหากับแพทย์
    ได้ที่ช่องทางดังต่อไปนี้
    แชร์บทความนี้

    Related Posts