สิว
คนเป็นสิว

สิว (Acne) คืออะไร มีกี่ประเภท พร้อมวิธีดูแลรักษาสิวให้หน้าเนียนใส

สิวเรียกได้ว่าปัญหาผิวหนังสุดใกล้ตัวที่ทำให้หลายๆ คนหงุดหงิดได้มากที่สุด เพราะนอกจากจะชอบขึ้นในวันสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ใบหน้าหรือผิวในบางบริเวณที่ต้องโชว์ความมั่นใจแล้ว สิวบางชนิดยังทำให้รู้สึกเจ็บ รู้สึกระบมผิวในขณะที่กำลังเป็นอีกด้วย นอกจากนั้นยังใช้เวลาในการรักษานาน ทำให้สูญเสียความมั่นใจเมื่อต้องเข้าสังคม ไม่เพียงแต่เท่านั้นหลายคนเมื่อรักษาสิวเสร็จแล้วก็ยังได้ของแถมเป็นรอยสิว หลุมสิวไว้อีกด้วย ใครที่กำลังเผชิญปัญหาเหล่านี้รมย์รวินท์คลินิกมีวิธีจัดการสิวให้อยู่หมัดมาฝากกันค่ะ ไปทำความรู้จักกันก่อนว่าสิวคืออะไร มีกี่ประเภท บริเวณฮิตที่สิวชอบขึ้นมีตรงไหนบ้าง พร้อมสาระดีๆ อีกมากมายที่รวมไว้ที่นี่ที่เดียว!



สิว (Acne) คืออะไร 

acne

สิวคืออะไร? เรียกได้ว่าเป็นปัญหากวนใจใครหลายๆ คนไม่น้อย เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วยังอาจทิ้งของแถมไว้ให้อย่างรอยดำ รอยแดง หรือแม้กระทั่งหลุมสิว จนสุดท้ายแล้วก็ต้องมาตามรักษาของแถมที่หนีไม่พ้นอย่างการเลเซอร์รอยสิวที่ช่วยให้รอยสิวจางลง หน้าใสขึ้น หรือแม้กระทั่งเลเซอร์หลุมสิวที่ช่วยแก้ปัญหาผิวขรุขระไม่เรียบเนียน

สิว (Acne) คือ โรคทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่มีลักษณะอาการจากความผิดปกติของรูขุมขนใต้ผิวหนังที่เกิดการอุดตัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันบนผิวที่มีปริมาณมากจนเกินไปรวมไปถึงแบคทีเรีย สิ่งสกปรก เซลล์ผิวที่ตายแล้ว จนทำให้เกิดลักษณะตุ่มนูนๆ ที่ขึ้นบริเวณผิว ภายในสิวอาจประกอบไปด้วยของเหลวอย่างหนอง หรือมีอาการอักเสบร่วมด้วย ไปจนถึงตุ่มที่มีหัวแข็งๆ อยู่ภายใน โดยจะมีความแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสิวแต่ละประเภทนั่นเอง


สิวเกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุของการเกิดสิวมักมีสิ่งหรือปัจจัยกระตุ้นที่หลากหลายไม่ว่าจะทั้งปัจจัยภายในร่างกายหรือปัจจัยภายนอกเช่นการใช้ชีวิตประจำวันสภาพแวดล้อมเป็นต้น เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ แล้วยังมีในเรื่องของอายุอีกด้วย แม้ว่าในทุกช่วงอายุจะสามารถเกิดสิวได้ก็ตามแต่ส่วนใหญ่ช่วงอายุ 12 ถึง 25 ปีหรือในช่วงวัยรุ่นมักจะเป็นช่วงที่เผชิญกับปัญหาสิวมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงอายุอื่น อย่างไรก็ตามสาเหตุของการเกิดสิวมีหลากหลายสาเหตุดังต่อไปนี้

  • การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฮอร์โมนโดยเฉพาะฮอร์โมนแอนโดรเจนที่หากมีปริมาณมากทั้งในเพศหญิงและเพศชาย จะเป็นสาเหตุกระตุ้นให้เกิดสิวทั้งในเพศชายและเพศหญิง
  • ผิวมีการผลิตน้ำมันในรูขุมขนในปริมาณที่มากเกินไป
  • มีปริมาณแบคทีเรียเติบโตในรูขุมขน
  • เกิดการสะสมของเซลล์ผิวที่ตายแล้วมากจนเกินไป
  • มีคนในครอบครัวเป็นสิว เช่นพ่อ แม่ เป็นต้น ก็จะเพิ่มโอกาสทำให้มีแนวโน้มการเป็นสิวมากยิ่งขึ้น
  • การรับประทานยาบางชนิดทำให้เกิดอาการข้างเคียงกับร่างกายจนทำให้เกิดสิวได้ เช่น ยาปรับฮอร์โมน ยาคุม เป็นต้น

ประเภทของสิว 

กดสิว

สิวที่ขึ้นบนร่างกายมีหลากหลายประเภท จึงต้องทำความรู้จักกับประเภทของสิว เพื่อที่จะได้ทำการรักษาสิวอย่างถูกวิธีตามประเภทของสิวนั้นๆ ส่วนใหญ่จะสามารถแบ่งประเภทของสิวอย่างคร่าวๆ ได้คือ สิวอักเสบและสิวไม่อักเสบ โดยแต่ละชนิดก็จะมีประเภทแยกย่อยอีกดังนี้

สิวอุดตัน (Comedones Acne)

สิวอุดตัน (Comedones) คือสิวชนิดไม่อักเสบ เกิดจากการอุดตันของสิ่งต่างๆ ในรูขุมขน มีลักษณะเป็นตุ่มนูนขึ้นมาบนผิว โดยสิวอุดตันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • สิวหัวดำ (Blackheads) คือสิวอุดตันหัวเปิด มีลักษณะเป็นตุ่มแข็งขนาดเล็ก สามารถมองเห็นหัวสิวได้ เกิดจากการอุดตันของไขมัน สิ่งสกปรก หรือเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ในระยะแรกหัวสิวจะเป็นสีขาวก่อนที่จะเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจน ทำให้กลายเป็นสิวหัวดำ 
  • สิวหัวขาว (Whiteheads) คือสิวอุดตันหัวปิด หรือสิวอุดตันไม่มีหัว มีลักษณะเป็นตุ่มขนาดเล็ก ไม่สามารถมองเห็นหัวสิวได้ เกิดจากการอุดตันในรูขุมขน ถ้าหากปล่อยไว้โดยไม่รักษา แบคทีเรีย ซีบัม และเคราติน ในสิวหัวขาวอาจพัฒนาการเป็นสิวอักเสบได้

สิวอักเสบ (Inflammatory Acne)

สิวอักเสบ (Inflammatory Acne) คือ การอักเสบของผิวหนังในบริเวณที่เป็นสิวอุดตัน เกิดจากแบคทีเรีย พี-แอคเน่ (P.acnes) ที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบได้ทั้งบริเวณผิวชั้นบนและผิวชั้นล่าง จนเกิดเป็นหัวหนองหรือก้อนบวมแดงขนาดใหญ่บนผิว นอกจากนี้ยังเกิดจากปัจจัยอื่นๆ ได้ เช่น ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง การกินอาหาร สิ่งสกปรกบนผิว และกรรมพันธุ์ เป็นต้น 

การรักษาสิวอักเสบ ไม่สามารถทำได้ด้วยวิธีการกดสิว จะต้องรักษาให้ถูกวิธีตามประเภท หรือความรุนแรงของสิวอักเสบแต่ละชนิด เช่น สิวตุ่มแดง สิวหัวหนอง สิวหัวช้าง สิวซีสต์ ควรปรึกษาวิธีการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิว

สิวผด (Acne Aestivalis) 

สิวผด (Acne Aestivalis) คือผื่นชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นตุ่มแดงเล็กๆ ไม่มีหัวสิว สามารถขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย สิวผดเกิดจากอาการแพ้ของผิวหนังและการอุดตันในรูขุมขน เมื่อต้องเจอกับสภาพอากาศร้อนจัด จนเหงื่อเข้าไปอุดตันในรูขุมขน หรืออาจเกิดจากสิ่งสกปรก ความเครียด และการพักผ่อนน้อย สิวผดรักษาได้ด้วยการใช้ครีมรักษาสิวผด และต้องปรับพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดสิวผด เช่น หลีกเลี่ยงแสงแดดที่ร้อนจัด หรืออยู่ในบริเวณที่ร้อนอบอ้าว ดูแลผิวให้ถูกวิธี และไม่สัมผัสใบหน้าบ่อยๆ

สิวไม่มีหัว (Blind Pimples) 

สิวไม่มีหัว (Blind Pimples) หรือสิวอักเสบไม่มีหัว คือสิวอักเสบชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นตุ่มนูนขึ้นมาจากชั้นใต้ผิวหนัง ไม่มีหัวสิวอยู่ด้านบน เป็นการอุดตันในรูขุมขนเหมือนกับสิวอักเสบชนิดอื่น แต่การอุดตันนี้เกิดขึ้นในชั้นส่วนลึกของผิวหนัง จนกลายเป็นสิวบวมแดงขนาดใหญ่ที่ไม่มีหัวสิว เกิดจากสิ่งสกปรกที่อุดตันในรูขุมขน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน กรรมพันธุ์ การกินอาหาร การใช้ยาบางชนิด สามารถรักษาได้ด้วยวิธีทางธรรมชาติด้วยการดูแลทำความสะอาด การใช้ยารักษาสิว หรือการใช้เลเซอร์รักษาสิว

สิวหัวช้าง (Acne Conglobata) 

สิวหัวช้าง (Acne Conglobata) คือสิวอักเสบชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าสิวอักเสบปกติ มีลักษณะเป็นเม็ดแข็งๆ ขนาดใหญ่ อาจมีหัวสิวมากกว่า 1 หัวในสิวหนึ่งเม็ด หรือไม่มีหัวสิวที่มองเห็นได้ มีความรู้สึกเจ็บปวดกว่าสิวชนิดอื่น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การอุดตันในรูขุมขนจากสิ่งสกปรก การผลัดเซลล์ผิว หรือน้ำมันที่มากเกินไป พักผ่อนไม่เพียงพอ การรักษาสิวหัวช้าง ไม่ควรกดหรือบีบให้สิวแตก เพราะอาจทำให้เกิดแผลเป็น ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อใช้ยารักษา หรือวิธีรักษาที่ถูกต้อง เช่น ผ่าตัด ฉีดยา เลเซอร์ เป็นต้น

สิวซีสต์ (Acne Cyst) 

สิวซีสต์ (Acne Cyst) คือสิวอักเสบชนิดที่รุนแรง เป็นถุงขนาดใหญ่อยู่ใต้ผิวหนังชั้นกลางหรือชั้นหนังแท้ มีลักษณะเป็นก้อนนูนแข็ง สามารถเกิดได้ทุกที่ของร่างกาย เกิดจากปริมาณฮอร์โมนแอนโดรเจนที่มากขึ้น การใช้ยาบางชนิด ความเครียด การอุดตันของเหงื่อหรือสิ่งสกปรกในรูขุมขน การกินอาหาร และกรรมพันธุ์ สิวซีสต์รักษาได้ด้วยการใช้ยาชนิดต่างๆ ตามคำแนะนำของแพทย์ แต่เมื่อรักษาหายแล้วอาจเกิดแผลเป็นหรือหลุมสิวได้

สิวหัวหนอง (Pustules)

สิวหัวหนอง (Pustules) คือสิวอักเสบชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นตุ่มบวมแดงขนาดใหญ่เป็นฐาน และมีหนองอยู่ด้านบนของสิว โดยจะมีหนองทั้งขนาดเล็กและหนองขนาดใหญ่ สิวหัวหนองเกิดจากการอุดตันในรูขุมขนจากน้ำมัน สิ่งสกปรก เซลล์ผิวที่ตายแล้ว ติดเชื้อจนอักเสบกลายเป็นหนอง สามารถรักษาได้หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การใช้ยาชนิดรับประทานและทาภายนอก แผ่นดูดสิว เลเซอร์สิว


6 บริเวณยอดฮิตที่มักเกิดสิว 

สิวอักเสบขึ้นไม่หยุด

สิวนอกจากมักจะขึ้นที่ใบหน้าจนสร้างความรำคาญใจแล้ว สิวยังสามารถขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นหน้าผาก คาง จมูก ปาก หลัง หน้าอก โดยสาเหตุของสิวที่เกิดขึ้นในแต่ละทีก็จะแตกต่างกันไปดังนี้

1.  สิวที่หน้าผาก

สิวที่หน้าผากเป็นบริเวณที่เกิดสิวได้บ่อย โดยสิวที่หน้าผากเกิดจากการอุดตันในรูขุมขนของน้ำมันที่ต่อมไขมันผลิตมากเกินไป เหงื่อ สิ่งสกปรก เซลล์ผิวที่ตายแล้ว ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง ความเครียด สารเคมี สามารถป้องกันสิวที่หน้าผากได้ด้วยการรักษาความสะอาด ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต และใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตันในรูขุมขน

2. สิวที่คาง

สิวที่คาง เป็นบริเวณที่เกิดสิวได้บ่อยเช่นเดียวกับสิวบนหน้าผาก สิวที่คางเกิดจากต่อมไขมันผลิตน้ำมันเยอะกว่าปกติ สิ่งสกปรกจากการชอบใช้มือสัมผัสคางหรือจากหน้ากากอนามัย เข้าไปอุดตันในรูขุมขน นอกจากนี้ยังเกิดจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง และการกินอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของนม สิวขึ้นคางป้องกันได้ด้วยการรักษาความสะอาด ใช้ครีมที่ทำให้ผิวชุ่มชื้น กินอาหารครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ งดสูบบุหรี่ งดอาหารที่มีไขมันสูง

3.  สิวที่จมูก

สิวที่จมูก มักเกิดขึ้นบ่อยเช่นเดียวกับคางและหน้าผาก เนื่องจากเป็นส่วนของใบหน้าที่มีความมันสูง ประกอบกับสิ่งสกปรกต่างๆ จนเกิดการอุดตันในรูขุมขน นอกจากนี้ยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และกรรมพันธุ์ ส่วนใหญ่สิวที่จมูกจะเป็นสิวอุดตันหัวเปิดและสิวเสี้ยน การป้องกันสิวขึ้นจมูกควรรักษาความสะอาด ไม่สัมผัสจมูกบ่อย พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด และใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตันในรูขุมขน

4.  สิวที่ปาก

สิวที่ปาก เกิดจากการอุดตันในรูขุมขนของแบคทีเรีย น้ำมัน สิ่งสกปรก จนกลายเป็นสิวที่เกิดขึ้นบริเวณรอบปาก นอกจากนี้ยังเกิดจากพฤติกรรมต่างๆ เช่น การชอบสัมผัสที่ปาก การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ระคายเคืองรอบปากหรืออุดตันในรูขุมขน ความเครียด เป็นต้น สิวขึ้นที่ปากสามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาความสะอาด หลีกเลี่ยงการสัมผัสปาก งดสูบบุหรี่ ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ 

5.  สิวที่หลัง

สิวที่หลังเกิดจากการอุดตันในรูขุมขนของเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ไขมัน เชื้อราในร่มผ้า เหงื่อ สิ่งสกปรก ถ้าหากหลังมีความชื้นจากเหงื่อมากก็ทำให้มีโอกาสเป็นสิวที่หลังได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง ความเครียด กรรมพันธุ์ และการใช้ยาบางชนิด การป้องกันรักษาสิวที่หลังควรรักษาความสะอาด ไม่สวมเสื้อผ้ารัดแน่นเกินไป ไม่สะพายกระเป๋าเป้ไว้ที่หลังเป็นเวลานาน และรักษาได้ด้วยการทายา กินยา หรือเลเซอร์

6.  สิวที่หน้าอก

สิวที่หน้าอก มักเกิดจากการสะสมของแบคทีเรีย เหงื่อ สิ่งสกปรก จนอุดตันในรูขุมขน เนื่องจากการสวมเสื้อผ้าที่แน่นหรือหนาจนเกินไป ทำให้ไม่มีอากาศถ่ายเท นอกจากนี้ยังเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ความเครียด สิวที่หน้าอกป้องกันได้ด้วยการรักษาความสะอาด ใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบายไม่รัดแน่นจนเกินไป ดื่มน้ำให้เพียงพอ ลดของหวานและไขมัน


ระดับความรุนแรงของสิว 

การสังเกต และเข้าใจว่าเราเป็นสิวที่อยู่ในระดับความรุนแรงระดับใดก็ถือเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกันสำหรับคนเป็นสิว เพราะช่วยให้เข้าใจ และรับมือในการรักษาสิวได้อย่างเหมาะสม โดยความรุนแรงของสิวมีด้วยกัน 3 ระดับ ดังต่อไปนี้

  • สิวในระดับเล็กน้อย : เป็นระดับความรุนแรงของคนที่เป็นสิวไม่มาก โดยมีปริมาณสิวที่ขึ้นอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 10 เม็ด ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่มีสิวในระดับนี้มักจะเป็นสิวอุดตัน สิวผด เป็นต้น
  • สิวในระดับปานกลาง : โดยระดับความรุนแรงนี้จะมีสิวขึ้นมากกว่า 10 เม็ดขึ้นไป ส่วนใหญ่จะเป็นสิวลักษณะสิวหัวหนองสิวอักเสบหรืออาจมีปัญหาของสิวอุดตันร่วมด้วย
  • สิวในระดับรุนแรง : สำหรับความรุนแรงของสิวในระดับนี้จะเป็นความรุนแรงที่มีลักษณะสิวอักเสบ สิวหัวหนอง สิวหัวช้าง สิวไม่มีหัว สิวอุดตันจำนวนมาก ซึ่งในลักษณะนี้จะเป็นสิวที่เผชิญกับปัญหาดังกล่าวมาเป็นระยะเวลานาน โดยลักษณะความรุนแรงของสิวดังกล่าวไม่แนะนำให้รักษาด้วยตัวเอง ควรเข้ารับการปรึกษา วินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมค่ะ

วิธีรักษาสิว 

คุณหมอขอแชร์ EP 31 ปัญหาสิวรักษาได้ด้วยโปรแกรม AC Clear

รอยสิวที่หน้า
รีวิว รักษาสิว

การรักษาสิวมีหลากหลายวิธี โดยจะต้องเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสม ตามระดับความรุนแรงของอาการที่เป็นสิว ซึ่งวิธีการรักษาสิวมีดังต่อไปนี้

รักษาสิวโดยใช้ยา

การรักษาสิวโดยใช้ยาถือเป็นวิธีขั้นพื้นฐานที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่แล้วการรักษาสิวโดยใช้ยาจะอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และควรทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ซึ่งมีทั้งชนิดยาทาภายนอก และชนิดรับประทาน 

ยารักษาสิวชนิดทาภายนอก จะมีทั้งแบบที่เป็นยาปฏิชีวนะ ยาวิตามินเอสังเคราะห์ และยาที่สกัดจากสารธรรมชาติอื่นๆ ส่วนใหญ่จะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนใช้ยา ส่วนยารักษาสิวชนิดรับประทาน จะมีทั้งยาปฏิชีวนะ ยาในกลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ และยาฮอร์โมน ยาชนิดรับประทานจะมีผลข้างเคียงมากกว่ายาชนิดทาภายนอก จึงควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา

เลเซอร์รักษาสิว

เลเซอร์รักษาสิว หรือเลเซอร์สิว เป็นวิธีการรักษาสิวที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถรักษาสิวได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังช่วยลดรอยแผลเป็น รอยดำ รอยแดง ที่เกิดจากสิว และช่วยให้ผิวดูเรียบเนียนกระจ่างใสขึ้น โดยมีเลเซอร์รักษาสิวหลากหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับสภาพผิว และอาการของสิวที่จะรักษา

รักษาสิวด้วยวิธีการอื่นๆ 

นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาสิวแบบอื่นๆ ที่เห็นผลได้ดีทำให้สิวหายอย่างรวดเร็ว เช่น การกดสิวทำได้เฉพาะกับสิวอุดตันหัวเปิด และจะต้องทำการรักษาอื่นควบคู่ไปด้วย การใช้สารเคมีช่วยผลัดเซลล์ผิว สำหรับผู้ที่ไม่สามารถรักษาสิวแบบอื่นได้ และการฉีดสเตียรอยด์ช่วยทำให้สิวยุบ เป็นต้น


ปัญหาหลังจากรักษาสิว 

แม้เราจะทราบกันดีกว่าการรักษาสิวนอกจากจะต้องใช้เวลา และความอดทนพอสมควร แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าหลังจากรักษาสิวแล้วยังมีปัญหาอื่นๆ ตามมาด้วยเช่นกันซึ่งปัญหาเหล่านั้นแม้จะไม่เป็นอันตรายแต่ก็สร้างความกังวลใจไม่น้อย ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากรักษาสิวได้แก่

รอยสิว

รอยสิวถือเป็นอีกหนึ่งของแถมที่ได้รับหลังจากการรักษาสิวหาย ซึ่งรอยสิวมีสาเหตุมาจากสิวทุกชนิดส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากสิวอักเสบ สิวหัวช้าง สิวอุดตัน เป็นต้น โดยมักจะเกิดทั้งในระหว่างที่เป็นสิว หรือเมื่อรักษาสิวหายแล้ว จากการที่บริเวณผิวหนังเกิดการระคายเคือง อักเสบจากสิวชนิดต่างๆ จนกระตุ้นทำให้ผิวหนังมีการสร้างเม็ดสีเมลานินเพิ่มขึ้นจนเกิดเป็นรอยดำ รอยช้ำจากสิว นอกจากรอยดำแล้วยังมีรอยแดงจากการที่เกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดอีกด้วย

แน่นอนว่าปัญหานี้เป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจไม่น้อยไปกว่าสิว อย่างไรก็ตามรอยสิวสามารถรักษาให้จางลง และหายได้ โดยมีหลากหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์ลดเลือนรอยสิว การทำเลเซอร์รอยสิวประเภทต่างๆ การผลัดเซลล์ผิว หรือแม้กระทั่งการฉีดเมโสหน้าใสก็สามารถช่วยทำให้รอยสิวดีขึ้น จางลงได้เช่นเดียวกัน

หลุมสิว

หลุมสิวปัญหาหลังรักษาสิวที่ฮิตมาติดๆ ไม่ต่างกันกับรอยสิว โดยหลุมสิวเกิดจากกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อที่ผิดปกติหลังการเกิดสิว เมื่อสิวหายแล้วร่างกายไม่สามารถสร้างเซลล์ผิวหนังและคอลลาเจน ขึ้นมาทดแทนเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายได้ จนทำให้กลายเป็นหลุมสิวบนผิวหนัง ซึ่งจะมีขนาดที่แตกต่างกันไปตามขนาดของสิวที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้า


8 เคล็ดลับดูแลหน้าใส ไร้สิว 

รอยสิวหายใน1อาทิตย์

รมย์รวินท์ทราบดีว่าปัญหาสิวไม่ใช่เรื่องที่ทุกคนต้องการ วันนี้เลยอยากขอมาแชร์เคล็ดลับดีๆ 8 เคล็ดลับที่ช่วยดูแลให้หน้าใสไกลสิวได้ ไปดูกันเลยค่ะว่ามีอะไรบ้าง

1.ดูแลผิวให้สะอาดอยู่เสมอ

การดูแลผิวให้สะอาดเป็นขั้นตอนพื้นฐานในการมีหน้าใส ไร้สิวที่สำคัญที่สุด เพราะการทำความสะอาดผิวได้อย่างหมดจดไร้การตกค้างที่อาจก่อให้เกิดสิวก็ถือเป็นขั้นตอนที่ช่วยลดโอกาสการเกิดสิวได้ ไม่ว่าจะแต่งหน้าหรือถ้าครีมกันแดดควรเช็ดคลีนซิ่งก่อนเสมอ และล้างหน้าทำความสะอาดด้วยผลิตภัณฑ์รูปแบบโฟม เจล สบู่เหลวล้างหน้าที่ไม่ทำให้ผิวตึงเอี๊ยด รักษาสมดุลผิว เพียงเท่านี้การมีหน้าใสไร้สิวก็ไม่ใช่เรื่องยากหากเริ่มต้นก้าวแรกด้วยการดูแลผิวให้สะอาดอยู่เสมอค่ะ

2.เลือกใช้สกินแคร์ให้เหมาะสมกับสภาพ และปัญหาผิว

การเลือกใช้สกินแคร์ให้เหมาะสมกับสภาพผิวก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะทุกปัญหาก็ต้องได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุด โดยจะต้องรู้ก่อนว่าสภาพผิวของตัวเองเป็นอย่างไร เช่น ผิวแห้ง ผิวมัน ผิวแพ้ง่าย หรือผิวผสม ปัญหาผิวที่พบเจออยู่เหมาะกับสกินแคร์แบบใดบ้าง จึงจะช่วยให้รักษาและป้องกันการเกิดสิวได้เป็นอย่างดี

3.ไม่ใช้มือสัมผัสหน้าบ่อยๆ หากไม่จำเป็น

การใช้มือสัมผัสผิวบ่อยๆ ไม่ใช่เรื่องที่ดีเท่าไหร่นะคะ เพราะมือของเราในแต่ละวันมีการสัมผัสสิ่งต่างๆ มากมาย ซึ่งอาจสะสมไปด้วยเชื้อโรค แบคทีเรียสิ่งสกปรก ยิ่งไปสัมผัสกับใบหน้าหรือผิวในบริเวณอื่นๆ ที่เป็นสิวแบบนี้จะทำให้สิ่งสกปรกต่างๆ สะสมอยู่บนผิว และเข้าสู่รูขุมขนจนสิวเกิดการอักเสบขึ้นได้ เห็นแบบนี้แล้วใครที่ชอบเอามือสัมผัสหน้าบ่อยๆ หากไม่จำเป็นแบบนี้แนะนำให้หลีกเลี่ยงดีกว่าค่ะ แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ควรล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสผิวเสมอ

4.ใช้ยาแต้มสิว

เคล็ดลับอีกหนึ่งเคล็ดลับที่ถ้าใครอยากมีผิวใส ห่างไกลสิวต้องห้ามพลาดคือการใช้ยาแต้มสิว เพราะในบางครั้งอาจมีสิวไม่ได้รับเชิญมาเยี่ยมเยียนบนผิวของเรา การปล่อยทิ้งไว้โดยไม่หาตัวช่วยมาจัดการ อาจทำให้สิวเกิดการอักเสบมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการใช้ยาแต้มสิวสามารถช่วยรักษาสิวและลดความรุนแรงของสิวลงไปได้ โดยจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับประเภทและความรุนแรงของสิว

5.ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์แต่งหน้าเสมอ

อุปกรณ์แต่งหน้าใช้ทุกวัน แต่งทุกวัน เห็นแบบนี้บางทีก็สะสมสิ่งสกปรกแบบที่เราคาดไม่ถึงเหมือนกัน ไหนใครที่แต่งหน้า ลองทำทุกเคล็ดลับที่ทางเราแนะนำมาแล้วแต่ไม่ล้างแปรงแต่งหน้าก็ตกม้าตายนะคะ โดยแนะนำให้ล้างทำความสะอาดแปรงแต่งหน้าทุกๆ 2 สัปดาห์เป็นประจำ เพียงเท่านี้ก็ช่วยป้องกันการเกิดสิวได้อย่างแน่นอน

6.บำรุงด้วยมอยเจอร์ไรเซอร์อย่าให้ขาด

นอกจากพื้นฐานของผิวที่ดีในเรื่องการทำความสะอาดแล้ว การบำรุงผิวแข็งแรงก็เป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญที่สิวมาเยือนได้ยากเช่นกัน เคล็ดลับสำคัญที่ช่วยให้ผิวแข็งแรงคือการบำรุงด้วยมอยเจอร์ไรเซอร์อย่าให้ขาด

เพราะมอยเจอร์ไรเซอร์จะช่วยเติมน้ำให้ผิว ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น ปราการผิวหรือ Skin barrier ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ผิวเสียความชุ่มชื่นนั้นเกิดความแข็งแรง เมื่อพื้นฐานผิวแข็งแรงแบบนี้ไม่ว่าจะปัญหาสิว หรือปัญหาผิวอื่นๆ ก็ไม่กล้ามากวนใจ

7.ไม่แกะ เกา บีบสิว

การแกะ เกา บีบสิวแม้ว่าหลายคนคิดว่าจะช่วยให้สิวยุบแต่จริงๆ แล้วอาจทำให้อาการความรุนแรงของสิวเพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญยังทิ้งรอยดำไว้ที่ผิวให้คอยตามรักษาอีกด้วย ใครที่ยังแกะ เกา บีบสิว แนะนำว่าให้หลีกเลี่ยงนะคะ อย่างไรก็ตามใครที่ต้องการให้สิวยุบให้เลือกวิธีการจัดการสิวตามวิธีการที่เหมาะสมกับประเภทของสิวจะดีที่สุดค่ะ

8.หากเป็นสิวในระดับรุนแรง ควรพบแพทย์

เคล็ดลับสุดท้ายสำหรับใครที่อยากหน้าใส ไม่ว่าจะเผชิญกับปัญหาสิวมาเป็นระยะเวลานาน หรือเป็นสิวจำนวนมาก ลองรักษาด้วยตัวเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์ผิวหนังเพื่อปรึกษา และประเมินปัญหาสิวที่เป็นอยู่ เพื่อจะได้รับการรักษาที่เหมาะสมกับความรุนแรงของสิวที่เป็นอยู่ค่ะ


คำถามที่พบบ่อย 

รวมคำถามที่พบบ่อยที่คนเป็นสิวต้องอยากรู้มากที่สุด

1. รักษาสิวต้องใช้เวลานานเท่าไหร่?

สำหรับระยะเวลาในการรักษาสิวของแต่ละคนคงต้องขอตอบว่าใช้เวลาไม่เท่ากันค่ะ เพราะแต่ละคนนั้นมีความรุนแรงของสิวที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจมีปัญหาสิวชนิดต่างๆ ในระดับเริ่มต้น บางคนก็อยู่ในระดับปานกลาง บางคนก็อยู่ในระดับรุนแรง จึงทำให้ระยะเวลาในการรักษามีความแตกต่างกันออกไป 

2. สิวรุนแรงขนาดไหนถึงต้องกินยา? 

ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นสิวแล้วต้องรับประทานยาเพื่อรักษาสิวนะคะ การทานยาเพื่อรักษาสิวนั้นจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์เท่านั้น เนื่องจากยารักษาสิวชนิดรับประทานไม่สามารถหาซื้อได้เอง หากแพทย์ประเมินอาการระดับความรุนแรงของสิวแล้วว่าควรรักษาด้วยการทานยา ส่วนใหญ่จะใช้รักษาสิวระดับปานกลางถึงรุนแรง

3. รักษาสิวด้วยตัวเอง ควรหลีกเลี่ยงส่วนผสมใดบ้าง?

ใครที่กำลังรักษาสิวด้วยตนเองคงเกิดความสงสัยไม่น้อยเลยว่าแล้วแบบนี้ต้องหลีกเลี่ยงส่วนผสมใดบ้าง จริงๆ แล้วส่วนผสมที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันมักจะเป็นส่วนผสมที่ก่อให้เกิดการอุดตันอย่างซิลิโคน น้ำมัน และพาราเบน เพราะส่วนผสมทั้งหลายเหล่านี้หากทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ ส่วนผสมเหล่านั้นอาจเกิดการตกค้างอยู่ภายในรูขุมขน จนเกิดการอุดตัน และนำไปสู่การเกิดสิวได้ ฉะนั้นใครที่กำลังรักษาสิวด้วยตัวเองอยู่แบบนี้เลือกใช้สกินแคร์อย่างระมัดระวังนะคะ

4. ฉีดสิวหรือกดสิวดีกว่ากัน?

การฉีดสิวหรือกดสิวนั้นถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาที่ช่วยให้ความรุนแรงของสิวเบาลง และมีอาการที่ดีขึ้น แต่ก็มีหลายคนสงสัยไม่น้อยว่าระหว่างฉีดสิวหรือกดสิวแบบไหนดีกว่ากัน จริงๆ ต้องตอบว่าทั้งสองวิธีดีทั้งคู่ค่ะ แต่ความเหมาะสมจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิว การกดสิวจะเหมาะกับการรักษาสิวอุดตันที่ยังไม่อักเสบ ส่วนการฉีดสิวจะเหมาะกับการรักษาสิวอักเสบ


รักษาสิวด้วยโปรแกรม AC Clear

การเป็นสิวแม้จะเป็นเรื่องใกล้ตัว แต่บางครั้งเรื่องใกล้ตัวก็อาจสร้างความไม่สบายใจจนทำให้หลายๆ คนเสียเซลฟ์ได้ รมย์รวินท์คลินิกเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสิวแบบนัมเบอร์วัน เราเข้าใจปัญหา ความกังวลใจของผู้ที่เป็นสิวดีกว่าใคร เพราะการรักษาสิวต้องตอบโจทย์ทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ จึงทำให้โปรแกรม AC Clear มีการออกแบบมาอย่างใส่ใจที่สุดสำหรับคนเป็นสิว 

พร้อมหรือยังที่จะอวดผิวใสเรียบเนียนอย่างมั่นใจอีกครั้งกับขั้นตอนการรักษาจากโปรแกรม AC Clear ที่ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเองทุกขั้นตอนไม่ว่าจะกดสิวอุดตัน ยับยั้งตัวการที่อาจกลายเป็นสาเหตุของสิวอักเสบ พร้อมฉีดสิว และทรีตเมนต์ดูแล ปลอบประโลมผิวให้ผ่อนคลาย เพิ่มความชุ่มชื้น ปิดจบด้วยเลเซอร์ฆ่าเชื้อสิวทั่วหน้า ลดรอยดำ รอยแดง จัดการความมันบนใบหน้าให้เกิดความสมดุล


อ้างอิง (เว็บต่างประเทศ)

American Academy of Dermatology Association. (May 26, 2023). 10 Skin Care Habits That Can Worsen Acne. https://www.aad.org/public/diseases/acne/skin-care/habits-stop

American Academy of Dermatology Association. (May 26, 2023). Acne: Tips For Managing.
https://www.aad.org/public/diseases/acne/skin-care/tips


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือปรึกษาปัญหากับแพทย์
ได้ที่ช่องทางดังต่อไปนี้
แชร์บทความนี้

Related Posts