เห็นใคร ๆ ที่ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตามาแล้วดูสดใสขึ้น ตาคล้ำน้อยลง แต่พอคุณไปฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาหวังจะเพิ่มมิติความสดใสให้กับดวงตาบ้าง แต่ผลที่ได้หลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาดันเป็นก้อนแปลก ๆ ดูไม่เป็นธรรมชาติ ทำให้เกิดความสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อน หากใต้ตาเป็นก้อนจะเป็นอันตรายไหม และต้องการแก้ไขฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนจะต้องทำอย่างไรบ้าง ในบทความนี้รมย์รวินท์มีคำตอบให้กับคุณแล้วค่ะ
ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน อันตรายไหม ?
การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อนมีโอกาสเกิดขึ้นได้ หากถามว่าฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนอันตรายหรือไม่ ก็อาจตอบได้ว่าอาจไม่อันตรายหรืออาจเป็นอันตรายก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าฟิลเลอร์นั้นเป็นฟิลเลอร์ชนิดใด เป็นฟิลเลอร์ของแท้หรือฟิลเลอร์ปลอม ผ่านมาตรฐานและการรับรองจากอย.หรือไม่
หากฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนมาจากเหตุผลอย่าง การเลือกชนิดฟิลเลอร์ไม่เหมาะสมกับการฉีดใต้ตา การขาดประสบการณ์ของแพทย์ผู้ทำหัตถการ หรือการฉีดฟิลเลอร์ในปริมาณและตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม แต่มีการใช้ฟิลเลอร์แท้ ที่มีส่วนประกอบหลักอย่างกรดไฮยาลูรอนิก (Hyaluronic acid) ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการฉีดสลายฟิลเลอร์
กลับกันหากใช้ฟิลเลอร์ชนิดอื่น เช่น ฟิลเลอร์เนื้อซิลิโคนที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ ฟิลเลอร์ที่ยังไม่ผ่านอย.ไทย หรือฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน หากนำฟิลเลอร์เหล่านี้มาฉีดอาจทำให้เกิดอันตรายแทรกซ้อนได้ เช่น ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อน ฟิลเลอร์ไม่เป็นทรง รูปหน้าเปลี่ยน หากร้ายแรงก็อาจทำให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ หรืออุดตันในหลอดเลือดได้เลย
ฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน แบบไหนถึงควรพบแพทย์ ?
เมื่อฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนแต่ไม่มีอาการอักเสบหรือปวดใด ๆ อาจเกิดจากการเลือกใช้เนื้อฟิลเลอร์ที่ไม่เหมาะกับใต้ตา หรือแพทย์ขาดประสบการณ์ ฉีดฟิลเลอร์ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง หากฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนด้วยเหตุนี้ก็จะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่อาจสร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ เนื่องจากใต้ตาเป็นก้อน เวลายิ้มแล้วดูไม่เป็นธรรมชาติ ดังนั้นหากรู้สึกว่าต้องการแก้ไขก้อนใต้ตาก็สามารถพบแพทย์เพื่อแก้ไข หรือฉีดสลายฟิลเลอร์ใต้ตาได้
แต่ในกรณีที่ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วมีการบวมแดง อักเสบร่วมด้วยอาจเกิดจากอาการแพ้กรดไฮยาลูรอนิกในฟิลเลอร์ หรืออาจเกิดจากการแพ้ฟิลเลอร์ปลอมที่มีส่วนประกอบไม่ได้มาตรฐาน ในกรณีนี้จะต้องรีบพบแพทย์เพื่อรับการแก้ไขโดยด่วน หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดอาการบวม อักเสบ ติดเชื้อและอาจร้ายแรงถึงขั้นเนื้อตายและตาบอดได้เลย
สาเหตุการเกิดก้อนขึ้นหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ?
นอกจากประเด็นเรื่องการดูแลตัวเองหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาไม่เหมาะสมแล้ว หลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนก็สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
- เลือกใช้ฟิลเลอร์ที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมกับการฉีดใต้ตา
ฟิลเลอร์แต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เหมาะกับการใช้แก้ปัญหาในตำแหน่งที่แตกต่างกัน สำหรับการฉีดใต้ตามักจะเลือกเนื้อฟิลเลอร์ที่ไม่แข็งจนเกินไปเนื่องจากผิวใต้ตามีความบาง ฟิลเลอร์ที่มีเนื้อโมเลกุลใหญ่และแข็งเกินไปจะทำให้ใต้ตาเป็นก้อนได้ง่าย
- การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมกับปัญหาที่ต้องการแก้ไข
ยกตัวอย่างเช่น ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแก้เบ้าตาลึกแต่ฉีดผิวตื้นเกินไป ทำให้เนื้อฟิลเลอร์กองอยู่ที่ชั้นผิวบนมากจนกลายเป็นก้อน
- การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาปริมาณที่ไม่เหมาะสม
สำหรับการฉีดใต้ตานั้นจะใช้ฟิลเลอร์ใต้ตาประมาณ 1-2 ซีซี แต่หากฉีดมากเกินไปก็สามารถทำให้เนื้อฟิลเลอร์ล้นจนทำให้เห็นเป็นก้อนนูนขึ้นมาได้
- การใช้ฟิลเลอร์ปลอม ฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
ฟิลเลอร์ปลอม หมายถึง ฟิลเลอร์ที่ถูกทำเลียนแบบฟิลเลอร์แท้ รวมถึงฟิลเลอร์ที่ไม่ผ่านอย. เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัย โดยส่วนมากฟิลเลอร์ปลอมมักจะมีส่วนประกอบที่ไม่ได้มาตรฐาน หากฉีดเข้าสู่ผิวอาจทำให้เกิดการแพ้ ติดเชื้อ หรือแข็งเป็นก้อนได้
ฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนด้วยสาเหตุจากข้อ 1 ถึง 3 มักเกิดจากแพทย์ไม่มีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์มากพอในด้านการฉีดฟิลเลอร์ ทำให้เกิดข้อผิดพลาดหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาขึ้น แต่หากฉีดด้วยฟิลเลอร์แท้ก็สามารถกลับมาแก้ไขได้ด้วยการฉีดสลายฟิลเลอร์
แต่หากฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนจากข้อสุดท้ายอย่างฟิลเลอร์ปลอมอาจแก้ไขได้ยากขึ้น หากเป็นเนื้อฟิลเลอร์ที่ไม่สามารถสลายได้ อาจต้องขูดฟิลเลอร์หรือผ่าตัดเพื่อเอาฟิลเลอร์ออกเลยทีเดียว
ก้อนใต้ตาหลังฉีดฟิลเลอร์ แก้ไขได้อย่างไร ?
วิธีแก้ไขฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนมี 3 วิธีหลัก ๆ ที่ใช้ ดังนี้
- ฉีดสลายฟิลเลอร์
หากฟิลเลอร์ใต้ตาที่ใช้เป็นฟิลเลอร์แท้ที่มีส่วนประกอบของกรดไฮยาลูรอนิก ก็สามารถใช้วิธีฉีดสลายฟิลเลอร์เพื่อแก้ไขปัญหาฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนได้ โดยตัวยาไฮยาลูรอนิเดส (Hyaluronidase) มีคุณสมบัติในการสลายกรดไฮยาลูรอนิก เมื่อฉีดเข้าไปจะทำให้เกิดการสลายตัวและผิวจะกลับมาเป็นเหมือนก่อนฉีดฟิลเลอร์
- ขูดฟิลเลอร์
หากฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนจากฟิลเลอร์ปลอม ฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มีกรดไฮยาลูรอนิกเป็นส่วนประกอบหลักจะไม่สามารถใช้วิธีสลายฟิลเลอร์ได้ และต้องใช้วิธีขูดฟิลเลอร์แทน แต่วิธีนี้จะนำฟิลเลอร์ปลอมออกมาได้แค่ประมาณ 60-70% เท่านั้น
- ผ่าตัด
กรณีที่ฟิลเลอร์ปลอมเป็นก้อนใหญ่และแข็งมาก หรืออาจมีพังพืดเกาะจนขูดฟิลเลอร์ออกไม่ได้ วิธีผ่าตัดจะเป็นวิธีสุดท้ายในการกำจัดฟิลเลอร์ออก แต่อย่างไรก็ตามอาจนำฟิลเลอร์ออกได้ไม่หมดและอาจต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เนื่องจากการผ่าตัดมีความเสี่ยง
หลังจากการรักษาใต้ตาเป็นก้อน มีผลข้างเคียงอะไรไหม
หากเข้ารับการรักษาฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนด้วยการใช้ไฮยาลูรอนิเดส เพื่อสลายฟิลเลอร์กับแพทย์เฉพาะทางอาจพบผลข้างเคียงได้น้อยมาก เนื่องจากการใช้ยาสลายฟิลเลอร์นั้นเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากฟิลเลอร์เป็นก้อน แต่ในบางรายก็อาจพบอาการแพ้ไฮยาลูรอนิเดสซึ่งจะมีอาการบวมแดงบริเวณที่ฉีดได้เช่นกัน
การดูแลตนเองหลังจากรักษาก้อนใต้ตา
การดูแลตนเองหลังรักษาฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนควรทำอย่างไร?
- ในช่วงแรกอาจมีอาการบวมเล็กน้อย ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ สามารถใช้การประคบเย็นเบา ๆ เพื่อบรรเทาอาการ
- งดสัมผัสบริเวณที่รักษาฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อน
- รับประทานยาฆ่าเชื้อหรือยาที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- เข้าพบแพทย์เพื่อติดตามอาการตามนัด
ข้อแนะนำหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา เพื่อไม่ให้เป็นก้อน
บางครั้งการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาของแท้กับแพทย์ที่มีประสบการณ์มาก แต่ใต้ตาก็ยังเป็นก้อนด้วยเหตุผลที่ว่าดูแลตนเองไม่เหมาะสม ดังนั้นหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาถ้าไม่อยากให้ใต้ตาเป็นก้อน สามารถปฏิบัติตนตามคำแนะนำดังนี้
- พยายามอยู่ในที่มีอากาศเย็น หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อุณหภูมิสูง เช่น การอยู่กลางแจ้ง เข้าซาวน่า เนื่องจากมีผลต่อการเซตตัวของฟิลเลอร์
- งดการออกกำลังกายหนัก ๆ หลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา
- ห้ามบีบ นวด แกะ เกาบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเด็ดขาด
- ดื่มน้ำให้มาก เพื่อให้ผิวอิ่มน้ำและทำให้ฟิลเลอร์อยู่ตัวได้ดีขึ้น
วิธีเลือกฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา เพื่อป้องกันการเกิดก้อน
เพื่อไม่ต้องมานั่งเสียใจ เสียเวลากับการรักษาฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนทีหลัง ควรจะเลือกฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาที่เหมาะสมกับตัวคุณที่สุด โดยสามารถพิจารณาเลือกฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาได้ดังนี้
- เลือกยี่ห้อและรุ่นของฟิลเลอร์ที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาใต้ตาของคุณ แต่อย่างไรก็ตามในจุดนี้ควรจะให้แพทย์ที่มีประสบการณ์ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นผู้ประเมินให้จะดีที่สุด
- เลือกฉีดฟิลเลอร์ของแท้กับแพทย์เฉพาะทางมีประสบการณ์ ที่สถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือ ไม่ควรเห็นแก่ของราคาถูก เพราะนั่นอาจทำให้คุณต้องมานั่งแก้ไขฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนในภายหลังได้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อน
ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา มีโอกาสเป็นก้อนมากไหม ?
หากเลือกฉีดฟิลเลอร์ใต้ตากับแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ กับคลินิกที่น่าเชื่อถือ และใช้ฟิลเลอร์ของแท้ที่ผ่านอย. โอกาสที่จะเกิดปัญหาฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนก็มีไม่มากนัก
ฟิลเลอร์ของแท้ มีโอกาสทำให้ใต้ตาเป็นก้อนไหม ?
ฟิลเลอร์ของแท้ก็มีโอกาสทำให้ใต้ตาเป็นก้อนได้ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น เลือกใช้ฟิลเลอร์ไม่เหมาะกับการฉีดใต้ตา แพทย์ไม่มีประสบการณ์ เลือกปริมาณรวมถึงตำแหน่งฉีดไม่เหมาะสม การดูแลตนเองที่ไม่เหมาะสมหลังฉีดฟิลเลอร์ เป็นต้น
ฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วรู้สึกมีก้อนขึ้นมา ควรทำอย่างไร ?
หากพบก้อนใต้ตาหลังฉีดฟิลเลอร์อาจต้องลองสังเกตไปสักระยะหนึ่ง เพราะก้อนที่เกิดขึ้นอาจเป็นอาการบวมฟิลเลอร์หรือเนื้อฟิลเลอร์ยังไม่เซตตัวกับผิว แต่หากพ้น 1-2 อาทิตย์ไปแล้วยังพบก้อนฟิลเลอร์ใต้ตาอยู่ ควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อน
หลังจากฉีดสลายฟิลเลอร์ สามารถฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาได้อีกไหม ?
หลังฉีดสลายฟิลเลอร์แล้วแนะนำให้เว้นระยะห่างประมาณ 1 อาทิตย์ก่อนฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาใหม่เพื่อให้ฤทธิ์ยาสลายฟิลเลอร์หมดไปเสียก่อน
ระหว่างฉีดสลายฟิลเลอร์ กับ ขูดฟิลเลอร์ ควรเลือกทำแบบไหนดี ?
การฉีดสลายฟิลเลอร์ใช้แก้ไขปัญหาได้เฉพาะฟิลเลอร์แท้ ที่มีส่วนประกอบของกรดไฮยาลูรอนิกเท่านั้น หากเป็นการแก้ไขปัญหาฟิลเลอร์ปลอมจะต้องใช้วิธีขูดฟิลเลอร์หรือผ่าตัด ไม่สามารถใช้ยาฉีดสลายฟิลเลอร์ได้
สรุป ฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อน
การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาควรเลือกฉีดกับแพทย์เฉพาะทาง หรือมีประสบการณ์การฉีดฟิลเลอร์มาก่อน เลือกใช้ฟิลเลอร์ของแท้ได้มาตรฐาน และเข้ารับบริการกับสถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือ แต่หากพลาดไปแล้วเกิดฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนก็สามารถแก้ได้ด้วยการฉีดสลายฟิลเลอร์ ก็จะช่วยให้ใต้ตากลับมาอยู่ในสภาพเดิมก่อนฉีดฟิลเลอร์ แต่หากฟิลเลอร์ที่ฉีดไปเป็นของปลอมอาจต้องใช้การขูดฟิลเลอร์หรือการผ่าตัด ซึ่งมักจะไม่สามารถแก้ไขได้ 100% และอาจทำให้ใต้ตาไม่สวยงามเหมือนเดิม
อ้างอิง
Derkach, K. (2022, December 30). UNDER EYE FILLER: EVERYTHING YOU NEED TO KNOW. Mabrie Facial Institute.
https://www.yourfaceinourhands.com/blog/under-eye-filler-everything-you-need-to-know/
Dissolving Dermal Filler with Hyalase. (n.d.). THE MANSE.
https://themanseclinic.com.au/Blog/dissolving-dermal-filler-with-hyalase/