ฉีดฟิลเลอร์
ฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก

ฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก มีผลข้างเคียงจริงไหม แก้ไขฟิลเลอร์เป็นก้อนด้วยการฉีดสลายปลอดภัยหรือเปล่า?

ฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก การรักษาปัญหาผิวหลังฉีดฟิลเลอร์มาแล้วหน้าผากนูนเป็นก้อน ได้ผลลัพธ์ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ การฉีดสลายฟิลเลอร์อันตรายไหม เห็นผลจริงหรือเปล่า ในบทความนี้ รมย์รวินท์จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับการฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก หนึ่งในวิธีการรักษาเบื้องต้นที่ควรรู้จัก เมื่อการฉีดฟิลเลอร์เกิดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์

การฉีดฟิลเลอร์ คือการนำสารไฮยาลูรอน (Hyaluronic Acid) เข้าสู่ใต้ชั้นผิว เพื่อเติมเต็มผิวในบริเวณที่เกิดร่องลึก หรือริ้วรอยที่ทำให้ผิวไม่สม่ำเสมอกลับมาอิ่มฟู ดูกระชับ และอ่อนวัยอีกครั้ง โดยการฉีดฟิลเลอร์สามารถทำได้หลายจุด ไม่ว่าจะเป็นการฉีดฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ร่องแก้ม และจุดที่รู้สึกถึงความไม่มั่นใจ จากปัญหาที่เกิดจากริ้วรอย และร่องลึก



ฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก คืออะไร 

ฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก (Dissolving Filler) คือการใช้สารไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase) ในการสลายฟิลเลอร์แท้ประเภทไฮยาลูรอน (Hyaluronic Acid) ที่เกิดการอุดตันเป็นก้อนใต้ชั้นผิว เมื่อพบว่าหลังฉีดฟิลเลอร์แล้วเกิดปัญหาฟิลเลอร์เคลื่อน หรือฟิลเลอร์เป็นก้อน

สารไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase) คือเอนไซต์ที่พบได้ในร่างกายของมนุษย์ตามธรรมชาติ มีหน้าที่ช่วยจัดการก้อนเนื้องอกที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายให้มีขนาดเล็กลง หรือหายไป และในกรณีของการสลายฟิลเลอร์นั้น สารไฮยาลูโรนิเดสจะทำลายการกักเก็บไขมัน และน้ำของผิวบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ เพื่อทำลายการยึดเกาะของสารฟิลเลอร์ที่ต้องการสลาย

อย่างไรก็ตาม สารไฮยาลูโรนิเดสจะสามารถสลายฟิลเลอร์แท้ประเภทสารไฮยาลูรอนได้เพียงเท่านั้น ไม่สามารถสลายฟิลเลอร์ปลอม ประเภทสารพาราฟิน หรือซิลิโคนเหลวได้ในกรณีดังกล่าวจำเป็นต้องใช้วิธีการรักษารูปแบบอื่นค่ะ


การฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผากแก้ปัญหาใดได้บ้าง 

ฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผากช่วยอะไร

สำหรับการฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผากนั้น คือขั้นตอนการรักษาปัญหาผิวไม่พึงประสงค์หลังฉีดฟิลเลอร์ดังนี้ค่ะ

  • ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน ผิวไม่เรียบเนียน
  • ฟิลเลอร์เคลื่อนหลังฉีด ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่เป็นไปตามต้องการ
  • แพ้ฟิลเลอร์ (มีโอกาสพบได้น้อย)

ฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก เห็นผลทันทีหรือไม่

การฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผากโดยทั่วไปแล้วจะเห็นผลลัพธ์ภายใน 24-48 ชั่วโมงค่ะ อย่างไรก็ตามหลังฉีดสลายฟิลเลอร์แล้วแพทย์จะมีการนัดพบเพื่อติดตามผลลัพธ์ หากสลายฟิลเลอร์ประสบความสำเร็จ ฟิลเลอร์ใต้หน้าผากสลายไม่จับตัวเป็นก้อนก็นับเป็นอันเสร็จสิ้นค่ะ ทั้งนี้อาจมีการประเมินจากแพทย์ให้ฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผากซ้ำอีกครั้ง หากพบว่ายังคงมีฟิลเลอร์หลงเหลืออยู่ใต้หน้าผาก หรือจนกว่าผิวจะกลับมาเรียบเนียนค่ะ


ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก

หลังฉีดฟิลเลอร์หน้าผากอาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ทั่วไป และสามารถหายได้เองภายใน 1-2 วัน ดังนี้ค่ะ

  • อาการบวมเล็กน้อยบริเวณรอยฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก
  • รู้สึกแสบผิว มีรอยแดงขึ้นเล็กน้อยบริเวณรอยฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก
  • รู้สึกปวด ไม่สบายผิวเล็กน้อยบริเวณรอยฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก

โดยอาการข้างต้นสามารถทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการด้วยตัวเองได้ค่ะ แต่ในกรณีที่พบได้ยากอย่างเช่น อาการแพ้สารไฮยาลูโรนิเดส ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่แล้วในร่างกายมนุษย์ทั่วไปนั้น สังเกตุได้จากอาการแสบคันรุนแรง ผิวมีลักษณะบวมแดงอย่างเห็นได้ชัด ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวิเคราะห์อาการ และเข้ารับการรักษาทันทีค่ะ


ข้อควรระวังก่อนฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก

แม้การฉีดสลายฟิลเลอร์จะมีโอกาสเกิดปัญหา หรือมีความเสี่ยงที่น้อยมาก แต่ก็มีข้อควรระวังที่ควรศึกษา และข้อมูลบางประการที่จำเป็นต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผากดังนี้ค่ะ

  • ผู้ที่มีอาการแพ้เหล็กในผึ้งมีโอกาสแพ้การฉีดสลายฟิลเลอร์
  • การฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผากจำเป็นต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เนื่องจากหากเกิดความผิดพลาดในการฉีดสลายฟิลเลอร์ อาจทำให้คอลลาเจนใต้ชั้นผิวบริเวณที่ฉีดสารไฮยาลูนิเดสสูญเสียไป ทำให้สภาพผิวในบริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหาย

หลังฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก สามารถฉีดฟิลเลอร์ใหม่ได้เลยไหม

หลังฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก

หลังฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก ควรรอ 5-7 วัน ไม่แนะนำให้มีการฉีดฟิลเลอร์ใหม่ในทันทีค่ะ ควรให้แพทย์ติดตามผลลัพธ์สลายฟิลเลอร์ก่อน และเมื่อแพทย์แจ้งเรียบร้อยแล้วว่าการฉีดสลายฟิลเลอร์เสร็จสิ้น ผิวบริเวณที่เกิดปัญหากลับเข้าที่หายบวมแล้ว จึงจะเหมาะสำหรับการฉีดฟิลเลอร์หน้าผากใหม่อีกครั้งค่ะ


คำถามที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก

ขั้นตอนการฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก

โดยทั่วไปแล้วการฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก จะมีขั้นตอนดังนี้

  • แพทย์ประเมินปัญหาผิวจากการฉีดฟิลเลอร์
  • คนไข้แจ้งแพทย์เกี่ยวกับรายละเอียดของฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไป ยิ่งละเอียดมากเท่าไหร่ยิ่งดีค่ะ เช่น ฟิลเลอร์ที่ฉีดหน้าผากเป็นของแท้หรือไม่ ฉีดตำแหน่งไหน ปริมาณที่ฉีดฟิลเลอร์หน้าผากกี่ซีซี ระยะเวลาในการฉีดฟิลเลอร์นานแค่ไหน เป็นต้น เพื่อให้แพทย์ประเมินปริมาณยาสลายฟิลเลอร์ที่เหมาะสมค่ะ
  • แพทย์เริ่มฉีดสารไฮยาลูโรนิเดสเข้าสู่ผิวเพื่อสลายฟิลเลอร์
  • รอดูอาการหลังฉีดฟิลเลอร์ พร้อมนัดพบแพทย์เพื่อติดตามอาการ
  • หากแพทย์ประเมินว่าฟิลเลอร์สลายหมดแล้วเป็นอันเสร็จสิ้นค่ะ แต่หากยังคงหลงเหลือสารฟิลเลอร์อยู่ ผิวยังคงบวม ไม่เรียบเนียนอาจจำเป็นต้องฉีดสลายฟิลเลอร์ซ้ำค่ะ

ฉีดสลายฟิลเลอร์ อันตรายไหม

การฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผากไม่เป็นอันตราย และมีโอกาสพบผลข้างเคียงน้อยมากหากได้รับการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่าสารไฮยาลูโรนิเดสสำหรับการฉีดสลายฟิลเลอร์นั้น เป็นสารธรรมชาติที่พบได้ในร่างกายมนุษย์ทั่วไปทำไมมีโอกาสในการเกิดอาการแพ้น้อยมาก

ฉีดสลาย Filler ราคาเท่าไหร่

ฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก ราคาเริ่มต้นประมาณ 3,000-4,000 บาทค่ะ ทั้งนี้ราคาขึ้นอยู่กับปัญหาผิว และความยากง่ายในการฉีดสลายฟิลเลอร์แต่ละจุด รวมไปถึงปริมาณยาที่ต้องใช้ แนะนำว่าควรประเมินราคากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสถานที่รักษาก่อนตัดสินใจฉีดสลายฟิลเลอร์ค่ะ 

ฉีดสลายฟิลเลอร์ปลอมได้ไหม

การฉีดสลายฟิลเลอร์ไม่สามารถสลายฟิลเลอร์ปลอมได้ค่ะ เนื่องจากสารไฮยาลูโรนิเดสจะทำปฏิกริยากับสารไฮยาลูรอนจากฟิลเลอร์แท้เท่านั้นค่ะ ดังนั้นหากปัญหาผิวเกิดจากการฟิลเลอร์ปลอม จำเป็นต้องใช้การรักษาด้วยวิธีอื่น อย่างเช่น การขูดฟิลเลอร์ หรือการผ่าตัดนำฟิลเลอร์ออกค่ะ

การฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก จะช่วยให้ฟิลเลอร์สลายหมดไหม

การฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผากช่วยให้ฟิลเลอร์สลายได้ 100% ค่ะ หากฉีดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีการประเมินปริมาณของสารฟิลเลอร์ ยี่ห้อ และรุ่นของฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไปก่อนหน้าครบถ้วน อย่างไรก็ตามสารฟิลเลอร์แท้นั้นแต่เดิมก็สามารถสลายตัวเองได้แบบ 100% อยู่แล้วค่ะ เพียงแต่การฉีดสลายฟิลเลอร์จะช่วยให้ฟิลเลอร์สลายตัวได้เร็วยิ่งขึ้น

ฉีดสลายฟิลเลอร์จุดไหนได้บ้าง

ไม่เพียงแต่บริเวณหน้าผากเท่านั้น แต่การฉีดสลายฟิลเลอร์สามารถทำได้ทุกจุดในร่างกายค่ะ ไม่ว่าจะเป็นหน้าผาก ใต้ตา จมูก ร่องแก้ม ปาก รวมไปถึงทุก ๆ จุดที่มีปัญหาจากการฉีดฟิลเลอร์ค่ะ

ฉีดฟิลเลอร์หน้าผากอย่างไรให้ปลอดภัย

การฉีดฟิลเลอร์หน้าผาก รวมไปถึงการฉีดฟิลเลอร์ทุกประเภทนั้นปลอดภัย และมีความเสี่ยงน้อยหากฉีดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และใช้ฟิลเลอร์แท้ค่ะ เพราะฉะนั้นก่อนฉีดฟิลเลอร์หน้าผาก ขอแนะนำให้มีการพิจารณาปัจจัยสำคัญอย่างเช่น สถานเสริมความงามที่ฉีดหน้าผาก เลือกฟิลเลอร์หน้าผากยี่ห้อไหนดี และต้องมั่นใจว่าฟิลเลอร์ที่ฉีดเป็นฟิลเลอร์แท้ค่ะ

การประคบร้อนสามารถช่วยให้การสลายฟิลเลอร์เร็วขึ้นจริงไหม

การประคบร้อนเพื่อสลายฟิลเลอร์นั้นโดยทั่วไปแล้วไม่สามารถทำได้จริงค่ะ ยกเว้นฟิลเลอร์ปากที่อาจช่วยได้เล็กน้อย แต่หากเป็นฟิลเลอร์หน้าผาก ร่องแก้ม ใต้ตา หรือจุด ๆ อื่นนั้นการประคบร้อนไม่เห็นผลแน่นอนค่ะ รวมไปถึงโดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์ยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสความร้อนสัก 14 วันเป็นอย่างต่ำค่ะ

ในกรณีข้างต้นหลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่าหากความร้อนไม่ได้ส่งผลให้ฟิลเลอร์สลายได้เร็วขึ้น ทำไมแพทย์ถึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงความร้อน โดยสาเหตุที่มีการแนะนำให้หลีกเลี่ยงการทานอาหารร้อน ห้องอบลมร้อนซาวน่า หรือการอยู่กลางแจ้งในวันแดดจัดเป็นเวลานานโดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์แรกนั้น นั่นก็เพราะความร้อนอาจส่งผลให้ฟิลเลอร์เคลื่อนจุดได้ค่ะ ในขณะที่ฟิลเลอร์อาจจะยังเซตตัวได้ไม่ดี ความร้อนจะทำให้ฟิลเลอร์เคลื่อนจุดได้ง่าย ส่งผลให้ผลลัพธ์หลังฉีดฟิลเลอร์ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร รวมไปถึงอาจไม่เห็นผลลัพธ์ค่ะ 


สรุปสาระคัญ : ฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก

การฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก คือการรักษาปัญหาไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นหลังฉีดฟิลเลอร์ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นอาการฟิลเลอร์เคลื่อนไม่ตรงจุดที่ต้องการ ไม่พึงพอใจในผลลัพธ์หลังฉีดฟิลเลอร์ อาการแพ้ฟิลเลอร์ และอาการฟิลเลอร์บวมเป็นก้อนจากความไม่ชำนาญของแพทย์ โดยการฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผากนั้นปลอดภัย และมีโอกาสพบผลข้างเคียงน้อยค่ะ

แม้การฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผากจะช่วยแก้ปัญหาผิวหลังฉีดฟิลเลอร์ได้แน่นอน แต่ก็มีข้อจำกัดอย่างเช่น รักษาได้เฉพาะการฉีดฟิลเลอร์แท้เท่านั้น ไม่สามารถสลายฟิลเลอร์ปลอมได้ค่ะ เพราะฉะนั้นทางเลือกที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงปัญหาหลังฉีดฟิลเลอร์ คือไม่ควรใช้บริการหมอกระเป๋า สถานเสริมความงามที่ไม่ได้มาตรฐาน และการใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่มีคุณภาพค่ะ


 อ้างอิง

Aestheticmed. (n.d.). How to dissolve filler correctly with hyaluronidase.
https://aestheticmed.co.uk/site/featuresdetails/how-to-administer-hyaluronidase 

Cavallini, M., Gazzola, R., Metalla, M., & Vaienti L.  (2013). The Role of Hyaluronidase. 
https://academic.oup.com/asj/article/33/8/1167/2801366#110398140


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือปรึกษาปัญหากับแพทย์
ได้ที่ช่องทางดังต่อไปนี้
แชร์บทความนี้

Related Posts