ฉีดฟิลเลอร์
หลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม

เพื่อผลลัพธ์ที่ดี หลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มควรปฏิบัติตนอย่างไร

บริเวณร่องแก้มเป็นจุดที่นิยมฉีดฟิลเลอร์เพื่อเติมเต็มและลดเลือนริ้วรอย เพิ่มความอ่อนเยาว์ให้กับใบหน้า เมื่อทำหัตถการเป็นที่เรียบร้อย หลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มควรจะปฏิบัติตนอย่างไรให้ผลลัพธ์ที่ดี สวยเป็นธรรมชาติ ไม่จับเป็นก้อนหรือเกิดการอักเสบติดเชื้อจนต้องมาแก้ไขใหม่อีกครั้ง ในบทความนี้มีคำตอบ!



10 ข้อควรระวังหลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม ไม่อยากแก้ใหม่ ต้องอ่าน

หลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มมีข้อควรระวังอะไรบ้างที่ต้องปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงจนต้องกลับมาแก้ไขใหม่อีกครั้ง

  1. ไม่แคะ แกะ เกา บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม ในช่วงหลังฉีดอาจมีอาการปวดเจ็บบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์จากเข็มฉีดยา แต่หากไปสัมผัสบริเวณนั้นมาก ๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ อักเสบ หรือฟิลเลอร์เสียรูป
  2. ห้ามรับประทานอาหารแสลง เช่น อาหารหมักดอง อาหารรสจัด อาหารหวานที่มีน้ำตาลมาก รวมถึงนม เนื่องจากอาหารเหล่านี้สามารถกระตุ้นการอักเสบ
  3. ห้ามรับประทานอาหารดิบในช่วงหลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มจนกว่าแผลจะดีขึ้น เนื่องจากอาจเกิดการติดเชื้อหลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มได้
  4. ระวังการแต่งหน้า ทาสกินแคร์ในช่วงแรก ๆ หลังฉีดฟิลเลอร์ โดยเหตุผลเช่นเดียวกับการสัมผัสกับใบหน้า หากสัมผัสรุนแรงอาจทำให้ฟิลเลอร์เสียรูป หรือในเครื่องสำอางและสกินแคร์อาจมีการปนเปื้อน เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  5. ระวังการขยับใบหน้า แสดงสีหน้า โดยเฉพาะหลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม เพราะบริเวณร่องแก้มเป็นส่วนที่มีโอกาสขยับบ่อย หากขยับใบหน้ามาก ๆ โดยที่เนื้อฟิลเลอร์ยังไม่เซ็ตตัวดีอาจทำให้เนื้อฟิลเลอร์ไหลไปยังจุดที่ไม่ต้องการ
  6. งดกิจกรรมที่ทำให้โดนแดด เพราะแสงแดดมีผลต่อการระเหยของน้ำใต้ผิว ฟิลเลอร์จะเซ็ตและคงรูปได้ดีเมื่อผิวมีความชุ่มชื้น อิ่มน้ำ หากผิวแห้งขาดน้ำอาจทำให้ฟิลเลอร์ไม่ฟูและเสียสภาพง่ายค่ะ
  7. งดการออกกำลังกายหนัก ในช่วงแรก ๆ หลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มไม่ควรออกกำลังกายหนักจนหน้าแดง เนื่องจากการออกกำลังกายจะทำให้เลือดสูบฉีดมาก ทำให้บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์อาจเกิดการอักเสบง่ายขึ้น
  8. หลีกเลี่ยงการทำหัตถการเลเซอร์ หรืออยู่ในที่อุณหภูมิร้อนจัด เนื่องจากความร้อนมีผลต่อการคงรูปของเนื้อฟิลเลอร์ หากหลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มแล้วทำหัตถการเลเซอร์ หรือสัมผัสกับอากาศร้อนมาก ๆ อาจทำให้เนื้อฟิลเลอร์เสียทรง ส่งผลให้ฟิลเลอร์ย้อยเป็นก้อน และเสื่อมสภาพได้ไวกว่าปกติค่ะ
  9. งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์หลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม เนื่องจากอาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบและยังไปขัดขวางกระบวนการสร้างคอลลาเจนใต้ผิว ทำให้ผิวโทรมอีกด้วย
  10. งดการรับประทานยา สมุนไพร วิตามินใด ๆ ที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากอาจทำให้อาการช้ำ บวม และรอยเข็มหายช้า

ดูแลตนเองหลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มยังไงเพื่อให้ฟิลเลอร์อยู่ได้นาน

ฉีดร่องแก้ม

เพื่อลดอาการผลข้างเคียงจากการฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม และเพื่อให้เนื้อฟิลเลอร์ขึ้นรูปสวย อยู่ได้นาน คุณสามารถดูแลตนเองหลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มได้ดังนี้ค่ะ

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน เพราะฟิลเลอร์เป็นสารอุ้มน้ำ จึงต้องให้ผิวชุ่มชื้น อิ่มน้ำอยู่เสมอ ในช่วงแรกอาจต้องเน้นการดื่มน้ำให้มากอย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน
  • ประคบน้ำแข็งบริเวณที่ฉีด หลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มอาจมีอาการปวด บวม ช้ำจากเข็มฉีดฟิลเลอร์ สามารถประคบน้ำแข็งเบา ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดได้ค่ะ แต่อาจต้องระมัดระวังไม่กดลงไปบนผิวที่ฉีดฟิลเลอร์แรง ๆ เพราะอาจทำให้ฟิลเลอร์เสียทรงได้ค่ะ
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ผิวแข็งแรง อาการบวมช้ำหายเร็วขึ้น และยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนังเพื่อผลลัพธ์ที่ดี ใบหน้าดูอ่อนเยาว์ขึ้นในระยะยาว
  • สามารถรับประทานยาแก้ปวด หากมีอาการปวดมาก รวมถึงควรรับประทานยาฆ่าเชื้อหรือยาที่แพทย์สั่งให้ครบเพื่อลดอาการผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นค่ะ

หลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มไปแล้วกี่วันเข้าที่?

ฉีด filler ร่องแก้ม

หลายคนอาจสงสัยว่าหลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มไปแล้วบวมกี่วัน กี่วันเข้าที่ โดยปกติแล้วมักจบอาการบวมฟิลเลอร์อยู่ประมาณ 2-3 วัน และจะค่อย ๆ ดีขึ้น เริ่มเข้าที่ภายใน 7-14 วันค่ะ ในช่วงแรก ๆ อาจมีอาการปวดบวมจากการที่มีสารเติมเต็มแทรกเข้าไปอยู่ชั้นใต้ผิว สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด และปฏิบัติตนตามคำแนะนำหลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม เพื่อให้อาการปวดหายเร็ว ฟิลเลอร์เข้าที่เร็วขึ้นค่ะ


ผลข้างเคียงที่อาจพบหลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม 

หลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มอาจพบผลข้างเคียงอย่างอาการปวด บวมแดง ฟกช้ำจากเข็มฉีดฟิลเลอร์ หรือจากเนื้อฟิลเลอร์ที่แทรกเข้าสู่ใต้ผิวค่ะ ซึ่งปกติแล้วสามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดหรือประคบเย็นเบา ๆ อาการจะเริ่มดีขึ้นภายใน 2-3 วัน 

แต่ในบางรายอาจพบผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ต้องพบแพทย์โดยเร็ว เช่น ฟิลเลอร์อักเสบ, ติดเชื้อ, ฟิลเลอร์ไหลใบหน้าผิดรูป รวมไปถึงผิวหนังเริ่มเปลี่ยนสีจากฟิลเลอร์อุดตันเส้นเลือด หากปล่อยไว้อาจเสี่ยงตาบอดได้ค่ะ


ถ้าหลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มเป็นก้อน เสียทรง แก้ยังไง

หากไปฉีดฟิลเลอร์หวังแก้ไขปัญหาหน้าโทรม มีริ้วรอยดูแก่กว่าวัย แต่หลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มกลับได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดี เช่น ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มแล้วเป็นก้อน ฟิลเลอร์ไหลเสียทรง ใบหน้าผิดรูป สามารถแก้ไขได้ด้วยการฉีดสลายฟิลเลอร์ค่ะ ซึ่งหากใช้ฟิลเลอร์แท้ที่มีองค์ประกอบหลักเป็นกรดไฮยาลูรอนิก สามารถใช้ไฮยาลูรอนิเดส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่จำเพาะกับกรดไฮยาลูรอนิกในการสลายฟิลเลอร์ได้ค่ะ

กลับกันหากผู้เข้ารับบริการไปฉีดฟิลเลอร์จากคลินิกที่ไม่ได้มาตรฐาน ใช้ฟิลเลอร์ปลอมหรือฟิลเลอร์ชนิดถาวร ซึ่งไม่สามารถแก้ได้ด้วยการฉีดสลายฟิลเลอร์ การแก้ไขปัญหาฟิลเลอร์ร่องแก้มเป็นก้อน ฟิลเลอร์ไหลเสียทรงจะต้องทำการขูดฟิลเลอร์ หรือผ่าตัดออกเท่านั้น แถมยังไม่สามารถกำจัดออกได้ทั้งหมดเนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่ออีกด้วย


เลือกคลินิกที่ไหนดี ไม่ต้องกังวลมานั่งแก้ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มทีหลัง 

ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มที่ไหนดี

เพื่อให้การฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มให้ผลลัพธ์ที่ดี คุ้มค่าที่สุด การเลือกคลินิกฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มให้เหมาะสมกับคุณตั้งแต่แรกเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากค่ะ ก่อนตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม เราขอแนะนำหลักการเลือกคลินิกฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มที่ไหนดี ดังนี้

  • เลือกคลินิกที่ได้มาตรฐาน เปิดกิจการสถานพยาบาลถูกต้องตามกฎหมาย
  • เลือกคลินิกที่มีแพทย์เฉพาะทาง มีความเชี่ยวชาญในการฉีดฟิลเลอร์ และมีประสบการณ์ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มอยู่ประจำคลินิก
  • เลือกคลินิกที่ไว้ใจได้ ซื่อตรงกับผู้เข้ารับบริการ ใช้ผลิตภัณฑ์ฟิลเลอร์ของแท้ที่ผ่านการรับรองจากอย. เท่านั้น ไม่ย้อมแมวเอาฟิลเลอร์ปลอมมาฉีดให้
  • ดูรีวิวคลินิกจากหลาย ๆ ช่องทาง เพื่อพิจารณาว่าคลินิกนั้น ๆ มีบริการที่ดีหรือไม่ ให้ผลลัพธ์ดีหรือไม่

สรุป 

หลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มอาจพบอาการผลข้างเคียงได้บ้างแต่โดยปกติแล้วจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน และฟิลเลอร์จะเริ่มเข้าที่ประมาณ 7-14 วันค่ะ หากอาการผลข้างเคียงอยู่นานผิดปกติแนะนำให้เข้าพบแพทย์โดยเร็ว 

ที่รมย์รวินท์คลินิก คลินิกเสริมความงามครบวงจร พร้อมให้บริการรักษา แก้ไขปัญหาของผู้เข้ารับบริการโดยพิจารณาจากความเหมาะสมของแต่ละบุคคลได้อย่างตรงจุด มั่นใจในคุณภาพและความใส่ใจด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี  


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือปรึกษาปัญหากับแพทย์
ได้ที่ช่องทางดังต่อไปนี้
แชร์บทความนี้

Related Posts