สิว, บทความ

ยากิน กับ ยาทา แบบไหนรักษาสิวดีกว่ากัน

สิว (Acne) เป็นสภาวะการอุดตันของบริเวณรูขุมขนและต่อมไขมันในรูขุมขน (Pilosebaceous Unit) เกิดเป็นตุ่มนูนขึ้นบนผิวหนัง ซึ่งเมื่อเกิดการอุดตันเป็นระยะเวลานาน  รูขุมขนจะขยายออกกลายเป็นถุง หากติดเชื้อจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและปริเข้าสู่ชั้นลึกของผิวหนัง กลายเป็นสิวอักเสบ ที่มีหนองตามมา ในบางครั้งอาจเป็นไตแข็งกลายเป็นสิวที่รักษาได้ยาก โดยทั่วไป สิวแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่

  • สิวในระดับที่ไม่รุนแรง เป็นสิวที่ไม่มีการอักเสบ หรืออักเสบอยู่บริเวณผิวหนังชั้นตื้น ๆ เช่น สิวอุดตันชนิดหัวเปิดและปิด สิวผด และสิวเม็ดข้าวสาร สามารถรักษาให้หายชั่วคราวได้ด้วยการกดสิว หรือทายาต้านการอักเสบ
  • สิวอักเสบ เป็นสิวที่มีการอักเสบบริเวณผิวหนังหรือต่อมไขมัน มักเกิดจากการอักเสบสะสม และติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย เช่น สิวตุ่มแดง สิวหัวหนอง และสิวหัวช้าง สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาชนิดกิน หรือการทำหัตถการอื่น ๆ  เป็นต้น

หัวข้อ … รักษาสิว

ต้นเหตุของการเกิดสิว

 class=

จริงๆ แล้ว การเป็นสิวไม่ใช่เรื่องน่าอาย หรือผิดปกติ เพราะสิว เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้ในกลุ่มวัยรุ่นช่วงอายุตั้งแต่ 12-25 ปี จนถึงวัยผู้ใหญ่ และมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สามารถเป็นได้ทั้งบริเวณใบหน้า หน้าอก และแผ่นหลัง โดยการเกิดสิวของแต่ละคนนั้น มีหลายสาเหตุ แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับปัจจัยที่แตกต่าง เช่น

  • การมีเซลล์ Keratinocyte ที่มากเกินไป ซึ่งเซลล์ Keratinocyte เป็นกลุ่มเซลล์สำคัญในการสร้างเคราติน จำพวก เล็บ ขน และผม เมื่อมีมากก็ทำให้เกิดการอุดตัน และกลายเป็นสิวได้ในที่สุด
  • สภาวะการผลิตน้ำมันในผิวที่มากเกินไป โดยปกติแล้วต่อมไขมัน (Sebaceous Glands) จะมีหน้าที่ในการผลิตน้ำมัน (Sebum) ออกมาเคลือบผิวเพื่อเป็นเกราะป้องกันและกักเก็บความชุ่มชื้นให้กับผิว แต่เมื่อผลิตออกมามากเกินไปจะก่อให้เกิดการสะสมน้ำมันบนชั้นผิวหนัง อุดตันบริเวณต่อมไขมัน และส่งผลให้เกิดสิวในที่สุด
  • การอักเสบและตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน โดยธรรมชาติเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะตอบสนองด้วยการอักเสบเพื่อป้องกันและกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นออกไปจากร่างกาย ซึ่งสิ่งแปลกปลอมจะเป็นอะไรได้บ้าง เช่น แบคทีเรียบางชนิด สารเคมีที่มาจากผลิตภัณฑ์ซักผ้า และชนิดของผ้าซึ่งอาจก่อให้เกิดการระคายเคือง เป็นต้น

สิวเกิดขึ้นบริเวณไหนได้บ้าง

 class=
  • ใบหน้า เป็นบริเวณที่พบมากที่สุด โดยเฉพาะสิวที่คาง และหน้าผาก ซึ่งเป็นบริเวณเส้นกึ่งกลางใบหน้าที่ผิวผลิตน้ำมันออกมามากกว่าผิวในบริเวณอื่น ๆ และมักเป็นจุดที่สัมผัสกับสิ่งสกปรกได้ง่าย จากการที่เรามักเผลอเอามือไปจับ ลูบคลำ เช่นเดียวกับสิวที่จมูก นอกจากนี้ยังมีสิวที่แก้ม ซึ่งมีสาเหตุหลักจาการล้างหน้าไม่สะอาด และสิ่งสกปรก เป็นต้น
  • สิวที่คอและหน้าอก มักเกิดจากความสกปรกของเส้นผมที่ผ่านมลภาวะ ฝุ่นละอองผสมกับน้ำมันบนหนังศีรษะเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้บางครั้งยังอาจเกิดจากการแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับหนังศีรษะและผมร่วมด้วย
  • สิวที่หลัง มักเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความมันของผิวจากการสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่ระบายอากาศ การผลัดเซลล์ที่ผิดปกติ จากกรรมพันธุ์ ฮอร์โมน และการอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ และเชื้อรา ที่มาจากความชื้นและความสกปรกของผิวใต้ร่มผ้า

เคลียร์สิวอยู่หมัด
ด้วยหัตถการทางการแพทย์

ในการทำหัตถการเพื่อรักษาสิว แพทย์จะพิจารณาจากอาการ และต้นตอของการเกิดสิว โดยมักนิยมใช้หลายวิธีควบคู่กันเพื่อลดปัจจัยในการเกิดสิว ซึ่งหัตถการที่เป็นที่นิยมในการรักษาสิวโดยทั่วไป คือ การจ่ายยาสำหรับกินและทาโดยแพทย์ผิวหนัง ซึ่งให้ผลลัพธ์ในการรักษาที่แตกต่างกัน ดังนี้ 

ยาสำหรับทาภายนอก ได้แก่

  • ยากลุ่มอนุพันธุ์วิตามินเอ (Retinoids)
    ออกฤทธิ์ช่วยลดการอุดตันและต้านการอักเสบเพื่อรักษาสิวอย่างได้ผล แต่อาจทำให้ผิวแห้งและระคายเคืองง่ายขึ้น เนื่องจากตัวยามีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
  • ยากลุ่ม Benzac หรือ Benzoyl Peroxide
    เป็นยารักษาสิวที่นิยมใช้มากที่สุด สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ออกฤทธิ์ช่วยลดและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้คล้ายกับยาปฏิชีวนะ
  • ยาปฏิชีวนะ กลุ่ม Topical Antibiotics
    ได้แก่ ตัวยา Erythromycin, Clindamycin และ Metronidazole สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานมักเกิดการดื้อยา ทำให้ต้องใช้ยากลุ่ม Benzac ร่วมด้วย
  • กรด  เช่น Salicylic Acid และ Azelaic Aid
    เป็นกรดธรรมชาติที่ออกฤทธิ์ช่วยลดการอุดตัน และฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

ยาสำหรับกินออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย ได้แก่

  • ยาคุมกำเนิด (Oral Contraceptives)
    มีผลต่อระดับฮอร์โมนโดยตรง มักนิยมใช้รักษาสิวที่พบในเพศหญิง โดยปัจจุบันมีหลากหลายชนิดให้เลือก ได้ผลลัพธ์ในการรักษาสิวแตกต่างกันตามส่วนประกอบของตัวยา และมักพบอาการข้างเคียง เช่น น้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น
  • ยา Isotretinoin
    มักใช้ในการรักษาสิวในระดับปานกลางถึงรุนแรง ตัวยาออกฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของต่อมไขมัน ลดจำนวนแบคทีเรีย และลดการอักเสบของผิว อาจเกิดการดื้อยาได้เมื่อกินติดต่อกันเป็นเวลานาน และส่งผลต่อผิวหนัง เช่น ผิวแห้ง ปากแห้ง เป็นต้น

ยาทา และยากิน
แบบไหนรักษาสิวได้ผลดีกว่ากัน

การรักษาสิวที่มีอาการอักเสบไม่รุนแรง สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาทา และยากิน ทั้งนี้ในการรักษาสิวควรควบคู่ไปการดูแลรักษาผิวหน้าอย่างเหมาะสม ตั้งแต่การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนการดูแลเรื่องความสะอาด และการหมั่นบำรุงผิวอย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาสิวให้ลดลง ผิวแข็งแรงขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดสิวได้ที่สุดในระยะยาว

และไม่ว่าจะเป็นยาทา หรือยากิน มีข้อควรระวังที่แตกต่างกันออกไป สำหรับยาทาสิว ในทุกตัวยาอาจทำให้เกิดอาการผิวแดง แห้ง และลอกได้ในระยะแรก ซึ่งจะหายไปเองหลังจากใช้ยาแบบทาในการรักษาสิว ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ดังนั้นในช่วงเริ่มต้นควรทาเพียงบางๆ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงสบู่ล้างหน้าที่เป็นกรด หรือการล้างหน้าที่แรงจนเกินไป เพราะจะทำให้ผิวหน้าแห้งลอกจนไม่สามารถใช้ยารักษาสิวได้และอาจอักเสบเพิ่มมากขึ้น

สำหรับยากิน ไม่ควรซื้อกินเองเพียงเพราะคำโฆษณา หรือบุคคลชี้นำให้ชวนเชื่อ แต่ควรศึกษาส่วนประกอบของตัวยาอย่างละเอียด หลีกเลี่ยงยาที่มีส่วนผสมของตัวยาหลายชนิด หรือมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ยารักษาสิวบางชนิดมีส่วนผสมที่อันตรายหากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป ดังนั้นในการใช้ยาแบบกิน ควรอยู่ในความควบคุมของแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้เป็นสิวอักเสบรุนแรง ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผิวหนังเพื่อทำการรักษาสิวต่อไป

หากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ
สามารถปรึกษาเราได้ที่ รมย์รวินท์ คลินิก

???? โทร.080-1539000 และ  080-1549000
???? Line@ : @Romrawinclinic

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือปรึกษาปัญหากับแพทย์
ได้ที่ช่องทางดังต่อไปนี้
แชร์บทความนี้